วันพฤหัสบดีที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ประวัติ ขนมโมจิ สมัยสงครามโลกครั่งที่ 2 วรรณกรรมรัก ของซาโต กับ พันนา

มนต์รัก ขนมโมจิ สมัยสงครามโลกครั่งที่ 2
ซาโต กับ พันนา 佐藤パンナ
デザート門司李しゃれ

ประวัติ ขนมโมจิ สมัยสงครามโลกครั่งที่ 2 ตำนานรักของ สาวบ้านนากับหนุ่มทหาร หมอ กองทัพญี่ปุ่น อมตะซาบซึ่งไม่มีวันลืม ครั่งหนึ่งขนมโมจิ เคยถูกเรียก ว่าขนมกบฏ ห้ามขาย

เก็บตก ช่อง3 อ่านต่อ-ดูต่อ http://www.my3space.com/

ขนมโมจิ ของดีอำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก จัดการแข่งขันกินขนมโมจิ โดยมีกำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน แข่งขันสุดมัน จัดโดย นายอำเภอบ้านนา นายวินัย จงวัฒนบัณฑิตย์
20 สิงหาคม 2553 20.00 น.

รายชื่อสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ จังหวัด นครนายก ขนมโมจิสูตรสงครามโลกครั้งที่ 2 (13747) (OTOP) ตำบลพิกุลออก อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก

ประวัติ ขนมโมจิ สมัยสงครามโลกครั่งที่ 2 ตำนานรักของ สาวบ้านนากับหนุ่มทหาร หมอ กองทัพญี่ปุ่น อมตะซาบซึ่งไม่มีวันลืม ครั่งหนึ่งขนมโมจิ เคยถูกเรียก ว่าขนมกบฏ ห้ามขาย

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เริ่มต้นตอนที่กองทัพญีปุ่น มาตั้งฐานทัพใน จังหวัดนครนายก ปี พ.ศ. ชาวบ้านเริ่มทำการค้ากับญี่ปุ่น


นางพันนา ซึ่งมีอายุประมาณ 18 กว่าปี ทำการค้าขายขนมในค่ายทหารกับญาติ ๆ เช่นขนมไข่เหี้ย กล้วยทอด ซาลาเปาทอด ขายจนได้รู้จัก กับทหารหนุ่ม ชาวญี่ปุ่น

ซึ่งเป็นหมอ และได้เกิดมีความรู้สึกที่ดีต่อกัน และวันหนึ่ง ทหารญี่ปุ่น ก็ต้องโยกย้ายไปที่อื่น แต่ก่อนจากไปนั้น ทหารได้สอนนางพันนา ทำขนมโมจิให้กับนางพันนา และบอกกับเธอว่า ขนมนี้จะเป็นตัวแทนของซาโต้ และเป็นตัวแทนของประเทศเขา ถ้าเขาไม่อยู่และนางพันนา คิดถึง ซาโต้ ให้ทำขนมนี้ ซาโต้จะกลับมา เมื่อทหารญี่ปุ่นได้สอนจนทำเป็น ซาโต้กินขนมโมจิ แล้บอกกลับนางพันนาว่า นางพันนา ทำขนมญี่ปุ่นโมจิได้อร่อยที่สุด ก่อนที่ทหารญี่ปุ่นจะจากไป ซาโต้บอกกับนางพันนาว่า หากวันใดคิดถึงเขาให้ทำขนมโมจิ ถ้าเขายังมีชีวิตอยู่ซาโต้จะกลับมาหานางพันอีก ถ้าจะทำขายก็ทำได้

เพราะมีทหารญี่ปุ่น ที่คิดถึงบ้านอยากจะกินขนมญี่ปุ่น อย่างขนมโมจิ และแล้ว และแล้วซาโต้ก็จากไป แต่นางพันนา ก็ยังคงทำอาชีพหาบของขาย ขนมญี่ปุ่นโมจิให้กับกองทัพทหารญี่ปุ่นต่อไป ต่อมาญี่ปุ่นแพ้ สงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารญี่ปุ่นกลับ ประเทศญี่ปุ่น แต่นางพันนายังทำขนมโมจิ ขายให้กับผู้คนใน จังหวัดนครนายก จนวันหนึ่งทหารไทยบอกกับนางพันนาว่า ขนมที่ทำขายอยู่ ห้ามกิน ห้ามทำ ห้ามขาย เพราะเป็นขนมของญี่ปุ่น ขนมนี้มันคือขนมกบฏ นางพันนาจึงไม่ได้ทำขนมโมจินี้ขาย แต่ทุก ๆ ครั้งที่คิดถึงซาโต้ นางพันนาก็จะแอบทำขนมโมจินี้ เพื่อแทนความคิดถึง หนุ่มญี่ปุ่นซึ่งเป็นที่รัก และทุกครั้งที่ทำนางพันนา ทำขนมโมจินี้ จะตั้งจิตอธิษฐาน สวดมนต์ภาวนา ให้ซาโต้กลับมากินขนมของตัวเอง วันแล้ว วันเล่า นานหลายสิบปีจนทุกคนลืมเรื่องนี้ไปหมดแล้ว
จนถึงพ.ศ. 2547 พระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ทรงทราบประวัติเรื่องขนมโมจินี้ จึงให้ทหารคนสนิทไปหาขนมโมจิ โบราณก็ไปหาอยู่หลายที่และนำมาให้เสวย แต่พระเทพทรงตรัสว่าไม่ใช่ขนมโมจิ ที่ตามหา ต่อมาอดีตผู้ว่าราชการจังหวัดนครนายก นายไพรัช ได้ทราบข่าวว่าพระเทพฯ ทราบตำนานขนมโมจินี้ เคยทำขายเลยรู้ว่าทที่ อำเภอบ้านนามียายแก่ ๆ คนหนึ่ง เคยทำขนมโมจิขายให้กับชาวบ้านและทหารกองทัพญี่ปุ่น อดีตผู้ว่าไพรัชจึงตามหาจนเจอและให้ยายพันทำขนมโมจินำไปถวายพระเทพฯ และทรงเสวยทรงตรัสว่า นี่คือขนมโมจิที่ข้าพเจ้าตามหา ต่อมายายพันนา ก็ได้ทำขนมโมจิถวายถึงพระหัตถ์ของพระเทพฯ ยายพันนารอคอยวันนี้มานานแสนนาน วันที่ขนมโมจิของแกได้ถูกเผยแพร่อีกครั้ง เหมือนได้บอกกับซาโต้ว่ายังมีสาวบ้านนาคนนี้รออยู่ แล้วยายพันนาก็จากไปโ ดยได้รับพระราชทานเพลิงศพจากพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี


オメガ
ข้อมูล จากการบอกของญาตินางพันนา และอื่นๆ
รูปภาพ สมัยสงครามโลกครั่งที่ 2 จาก google

พีรพันธ์ แก้วจินดา by http://www.nakhonnayoknews.com/